ค่าว ฮ่ำ กำจ๊อย

24/01/58

                  “ค่าว  คือ บทกวีรูปแบบหนึ่งของคนล้านนา ที่นิยมกันมากในอดีตเป็นภูมิปัญญาล้านนาที่สืบทอดกันมาหลายยุคหลายสมัย แต่คนล้านนายุคใหม่ไม่ค่อยรู้จัก  เพราะไม่มีสอนในโรงเรียน  เรารู้จักแต่สุนทรภู่ และ รู้จักแต่ศรีปราชญ์ แต่ไม่ค่อยมีใครรู้จักพญาพรหมโวหาร พญาโลมาวิสัย หรือเจ้าสุริยวงศ์ ค่าวเป็นบทกวีที่แสดงถึงความงามและความไพเราะของภาษาเหนือ เป็นเหมือนดอกไม้ทางวัฒนธรรมที่กำลังจะเหี่ยวเฉา และร่วงโรยได้เวลาแล้วหรือยังที่เราจะต้องช่วยกันฟื้นฟูและอนุรักษ์ไว้ หรือจะปล่อยให้สมบัติทางปัญญาที่ปู่ย่าตายาย ป้ออุ๊ย แม่หม่อนสืบทอดกันมาต้องสูญสลายไปในยุคสมัยของเรา…”

” ค่าว  หมายถึงคำประพันธ์ที่มีลักษณะร้อยสัมผัสสอดเกี่ยวกันไปแบบร่ายและจบลงด้วยโคลงสองหรือโคลงสามสุภาพ  มีหลายชนิดคือ เรื่องที่ปรากฏในเทศนาธรรม เรียกว่า “ ค่าวธรรม “ ถ้าแต่งเป็นจดหมายรักเรียกว่า “ ค่าวใช้ “ถ้านำไปอ่านเป็นทำนองเสนาะเรียกว่า “ค่าวซอ “หรือ”เล่าค่าว “ และถ้าหากเป็นการขับลำนำตอนไปแอ่วสาวเรียกว่า “จ๊อย” แม้ชาวบ้านที่พูดคล้องจองกันเรียกว่า “อู้เป็นค่าวเป็นเครือครับ “  ดีเจหนานเอ..